วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

จุดประสงค์การเรียนรู้วิชาการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์

จุดประสงค์การเรียนรู้ : วิชาการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์

1) ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ (Knowledge)
2) ผู้เรียนสามารถพัฒนารูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับรายวิชาชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ได้ (Do)
3) ผู้เรียนสามารถพัฒนารูปแบบการสอนที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนได้ (Do)

DRU Model

DRU Model
การจัดการศึกษามี รูปแบบดังนี้              
     1. การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน                                                  
     2. การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละคน                                                                                                                                                                
     3. การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล  ประสบการณ์  สังคม  สภาพแวดล้อม  สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ
                 
                 ด้านความรู้ (Knowledge)  กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
 
                 ด้านผู้เรียน (Learner)  กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
 
                 ด้านสังคม (Society) จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับ      ผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
 
จากรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิต  จะสอดคล้องกับแนวความคิดของไทเลอร์ ขั้น จะได้สามเหลี่ยม ภายในวงกลมสี่รูป ได้แก่
1.สามเหลี่ยมแรก การวางแผน ( Planning) อาศัยแนวคิดพัฒนาหลักสูตรของ ไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร กำหนดจุดหมายหลักสูตร
2. สามเหลี่ยมรูปที่สอง การออกแบบ (Design) นำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรเพื่อให้มีจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนอง  จุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3.สามเหลี่ยมรูปที่สาม การจัดระบบหลักสูตร (Organize) จัดหลักสูตรเพื่อตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สองคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือ จัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ  การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึงการบริหารที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้  และรวมถึงการนิเทศการศึกษา
4.สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (Evaluation) ประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร


 P = Planning (การวางแผน)                             C = Cognitive network  (ความรู้ความกระจ่างชัด)
 D = Design  (การออกแบบและการพัฒนา)     A = Affective network (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมวิชาชีพ)
 M = Management (การจัดการ,การควบคุม)     L = Learning (การเรียนรู้)
 S = Strategic network (กลวิธี)                         A = Assessment (การประเมินค่า)   
 E = Evaluation  (การประเมินผล)

จากรูปด้านดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็นดังนี้


                 สามเหลี่ยมรูปที่ 1
                       ามเหลี่ยม (D) การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้    
                 จะนำไปสู่  ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
                       1. P = Planning  (การวางแผน)
                       2. D = Design  (การออกแบบและการพัฒนา)
                       3. C = Cognitive network  (ความรู้ความกระจ่างชัด)
                       4. A = Affective network (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมวิชาชีพ) 




 
 
 
                 สามเหลี่ยมรูปที่ 2
 
                 สามเหลี่ยม (R) ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนด
                 สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอน
                 การจัดการเรียนรู้ดังนี้
                        1. C = Cognitive network  (ความรู้ความกระจ่างชัด)
                        2. L = Learning (การเรียนรู้)
                        3. M = Management (การจัดการ,การควบคุม) 
                        4. S = Strategic network  (กลวิธี)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
           สามเหลี่ยมที่  3
             สามเหลี่ยม (U) การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL 
           เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอน
           การจัดการเรียนรู้ดังนี้
                 1. A = Assessment (การประเมินค่า)
                 2. S = Strategic network  (กลวิธี)    
                    3. A = Affective network (การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมวิชาชีพ) 
                 4. E = Evaluation  (การประเมินผล)

             จากขั้นตอนการจัดรูปแบบการเรียนรู้  จะเห็นได้ว่า  การจัดรูปแบบการเรียนรู้ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน
โดยมีการวางแผน  การออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อใช้เป็นแบบแผนหรือแนวทางในการปฏิบัติการเรียนการสอนเพื่อให้
บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้เฉพาะ ซึ่งจะนำมาใช้ในการพัฒนาเพื่อกำหนดลักษณะขององค์ประกอบการเรียนรู้  นำวิธีการเชิงระบบมาจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการเรียนรู้  และสามารถปรับใช้ให้เหมาะสม

NPU Model

NPU Model

         NPU Model คือ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้วิจัยเป็นฐาน 
ที่มาจากนิยามศัพท์ของการวิจัย 
         ที่ว่าการวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้  ผู้วิจัยนำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์มาเป็นสาระสําคัญ ประกอบด้วย การทําความกระจ่างชัดในความรู้การเลือกรับและทําความเข้าใจ สารสนเทศใหม่และการตรวจสอบทบทวนและใช้ความรู้ใหม่ในทำนองเดียวกันผู้วิจัยได้ศึกษาแบบจำลอง  Biggs 3’P Model ตัวแปรก่อนเรียน (Presage) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) สอดคล้องกับแนวคิดการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Treffinger, Isaksen and Dorval, 2000) ประกอบด้วย
1)  ความเข้าใจที่ท้าทาย (Understanding the Challenge) มุ่งค้นหาจุดหมาย (goal) โอกาส (oppor-tunity) ความท้าทาย (Challenge) ความกระจ่างชัด (clarifying) คิดแผนการ (formulating) เพื่อกำหนดกรอบ ความคิดสำคัญในการปฏิบัติงาน
2)  การสร้างมุมมองในการคิดแก้ปัญหา (Generating Ideas)
3)  การเตรียมทั้งวิธีการในการปฏิบัติงานและความสำเร็จในการปฏิบัติงาน (Preparing for Action)
ผู้วิจัยได้สังเคราะห์เป็นแบบจำลองการสอน เรียกว่า NPU Model ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 N- Need Analysis

1.1 วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้นักศึกษาวิเคราะห์หลักการจัดการศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และจุดหมายของการศึกษาในระดับสากล (World class Education) เพื่อกำาหนดจุดหมายในการเรียนรู้วิชา การพัฒนาหลักสูตร” และนำไปกำหนดจุดหมายของหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องพัฒนาขึ้น
1.2 การวางแผนการเรียนรู้ผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1) กำหนดกลยุทธการพัฒนาตนเองจากการศึกษาเอกสารหนังสือหลักฐานร่องรอยหรือการสืบค้นในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือปฏิบัติกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
2) จัดทําปฏิทินและเครื่องมือในการกำกับติดตามเพื่อการประเมินตนเองในการพัฒนาหลักสูตร

ขั้นที่  2 P-/Praxis

2.1 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้นักศึกษาศึกษาเรียนรู้ด้วย การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้ร่วมกันการใช้วิธีการต่างๆ ในการเรียนรู้ และการตรวจสอบความรู้ "กระบวนการพัฒนาหลักสูตร"
2.1.1 การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้
2.1.2 การใช้วิธีการต่างๆ ในการเรียนรู้
2.1.3 การตรวจสอบความรู้นักศึกษาจะได้รับการสนับสนุนให้ทํากิจกรรมการ
ปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และกิจกรรมกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนความคิดของนักศึกษาเปิดการอภิปราย
ให้กว้างขวางเสนอหลักฐานร่องรอยของความคิดของนักพัฒนาหลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้
อภิปรายกับกลุ่มเพื่อนภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน
2.2 การสรุปความรู้และการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนส่งเสริมให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิด
กระบวนการพฒนาหลักสูตร” โดยใช้ภาษาของตนเองสอบถามถึงหลักฐานและความชัดเจนในการอธิบายของนักศึกษาที่ใช้ความรู้เดิมหรือประสบการณ์ที่มีมาก่อนของผู้เรียนเป็นพื้นฐานในการ
อธิบายในส่วนการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนขยายความรู้ความเข้าใจใน
กระบวนการพฒนาหลักสูตร” ของนักศึกษาโดยผ่านประสบการณ์ใหม่ๆผู้เรียนจะได้รับการ
สนับสนุนให้นําความรู้ปรับใช้กับประสบการณ์ ในชีวิตจริงโดยผ่านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
นักศึกษานำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ โดยการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มขึ้น

ขั้นที่ 3 U-Understanding

การตรวจสอบทบทวนตนเองด้วยการประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้ - การประเมินความรู้ส่งเสริมให้นักศึกษาประเมินความรู้และความสามารถของตนเอง ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนและประเมินการบรรลุจุดหมายการศึกษา ผู้วิจัยได้สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและนำเสนอเป็นแบบจำลองการเรียนการสอน เรียกว่า NPU Model

SU Model

SU Model


SU MODEL คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนโลกที่มีองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ 
1) พื้นฐานทางปรัชญา
2) พื้นฐานทางจิตวิทยา 
3) พื้นฐานทางสังคม 
โดยมีสามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่
Ø ด้านความรู้ กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
Ø ด้านผู้เรียน กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเองมีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
Ø ด้านสังคม กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
                ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต้องตอบสนองด้านผู้เรียน ด้านสังคมและด้านความรู้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ พื้นฐานทางสังคม พื้นฐานทางจิตวิทยาและพื้นฐานทางปรัชญา ภายในสามเหลี่ยมการศึกษาจะประกอบด้วยสามเหลี่ยมเล็กๆ 4 ภาพ ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตรของ Tyler โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คือ การวางแผน (Planning) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และจะสอดคล้องกับคำถามที่หนึ่งของไทเลอร์ คือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
ขั้นตอนที่ 2 คือ การออกแบบ (Design) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา เพราะว่าหลักสูตรต้องออกแบบมา เพื่อให้จัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่นักเรียน
ขั้นตอนที่ 3 คือ การจัดการหลักสูตร (Organize) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner)ความรู้ (Knowledge) และสังคม (Society) จะสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือ จัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เพราะว่าการจัดการหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพ คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์พร้อมกับสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคม
ขั้นตอนที่ 4 คือ การประเมิน (Evaluate) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียนความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม

รูปแบบที่พัฒนาขึ้น(แผนใหม่)

NKK Model  
 
บทบาทครู
1. วางแผน / N = Need for Learning
2. จัดการชั้นเรียน / K = Knowledge by Network
3. ประเมินผล / K = Knowledge and Do Audit
 
บทบาทนักเรียน
1. N = Need for Learning
    - ความต้องการของนักเรียนด้านพุทธพิสัย หรือ ความรู้ (K)
    - ความต้องการของนักเรียนด้านทักษะพิสัย หรือ ทักษะ (P)
    - ความต้องการของนักเรียนด้านเจตพิสัย หรือ เจตคติ (A)
2. K = Knowledge by Network
    - ความรู้ผ่านเครือข่าย CN ,SN,AN
3. K = Knowledge and Do Audit
    - ประเมินตรวจสอบความรู้ตนเอง เพื่อตรวจสอบ K,P,A








การจัดการเรียนการสอน
1.ขั้นนำ    
    1.1 Design (ออกแบบการจัดการเรียนรู้)
    1.2 CN (เรียนรู้ผ่าน PPT,E-Book,ใบความรู้)
    1.3 AN (คุยกับเพื่อน ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ)
2.ขั้นสอน
    2.1 CN (เรียนรู้ผ่าน PPT,E-Book,ใบความรู้)
    2.2 L = DRU (เรียนรู้อย่างมีความสุข)
    2.3 SN (กลวิธีในการเรียนรู้)
            - ระดมสมองแบ่งงานตามความสามารถ
            - ทำงานตามความสามารถ
3.ขั้นสรุป
    3.1 SN (กลวิธีในการเรียนรู้)
            - ระดมสมองแบ่งงานตามความสามารถ
            - ทำงานตามความสามารถ
    3.2 ASS (ประเมินตรวจสอบทบทวนตัวเอง)

    3.3 AN (คุยกับเพื่อน ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ)